เรื่องจริงหรือข่าวลือ
ขุมทรัพย์ "และทองคำอันมหาศาล" ในถ้ำรับร่อ
แม้ว่ากระแสเรื่องการขุดทองในจังหวัดกาญจนบุรี จะได้ซาลงไปแล้ว แต่ก็ยังมีความเชื่อว่า สักวันหนึ่งข่าวนี้จะกลับมาบูมอีกอย่างแน่นอน ไม่อาจจะอธิบายเหตุผลว่า ทำไมจึงมีความเชื่อในเรื่องนี้ แต่เอาเป็นว่า ข่าวสมบัติของทหารญี่ปุ่นสมัยสงคราม ครั้งที่ 2 ที่จังหวัดกาญจนบุรี ไม่ใช่ข่าวโจ๊กก็แล้ว
เรื่องราวเกี่ยวกับสมบัติล้ำค่าในสมัยโบราณ มีเรื่องเล่ากันต่อๆ มาว่า หลายจังหวัดทางภาคใต้ในสมัยก่อน มีสมบัติล้ำค่าซุกซ่อนอยู่อย่างเช่นที่จังหวัดสงขลา จังหวัดนครศรธรรมราช จังหวัดภูเก็ต และ จังหวัดชุมพร ฯลฯ
สมบัติพวกนี้บางส่วนเป็นของพวกโจรสลัด บางส่วนเป็นของพ่อค้าชาวต่างชาติ และบางส่วนเป็นของพระเจ้าแผ่นดินต่างบ้านต่างเมือง อย่างเช่นที่จังหวัดชุมพร มีเรื่องเล่ากันว่ามีถ้ำอยู่ถ้ำหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า ถ้ำรับร่อ ถ้ำดังกล่าวมีตำนานเล่าขานน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว
ภูเขารับร่อหรือภูเขาพระในวัดเทพเจริญ หมู่ที่ 4 ต.ท่าข้าม อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร สิ่งสำคัญของสถานที่แห่งนี้คือ 1.ภูเขารับร่อ 2.ถ้ำพระ 3.ถ้ำไอ้เต 4.พระพุทธรูปหลักเมือง 5.ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำไอ้เต 6.รอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งทำจากหินทรายสีแดง
เขารับร่อหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าเขาพระบ้าง ถ้ำทะเลซิยะบ้าง เป็นภูเขาหินปูนซึ่งวางตัวอยู่ในแนวเกือบจะเกือบจะตามแกนทิศเหนือ - ทิศใต้ ขนาดยาวประมาณ 4 กม.เศษๆ
กว้างประมาณ 2.25 กม. ยอดสูงสุดอยู่ทางตอนใต้ของภูเขา สูงประมาณ 281 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง โบราณสถานตั้งอยู่ในเขตวัดเทพเจริญ (วัดถ้ำรับร่อ) อยู่ทางทิศใต้ของภูเขา
ภูเขารับร่อนี้ตามตำนานและนิทานพื้นบ้านเชื่อกันว่า บริเวณรอบๆ เขารับร่อเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ ชื่อเมือง อุทุมพร ร่วมสมัยกับเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งสร้างโดยพระเจ้าศรีธรรมโศกราช เมืองอุทุมพร ใช้เป็นเมืองท่ารักษาด่านทางข้ามคอคอดคาบสมุทรมลายู มีสำเภาจีนมาค้าขาย และได้รับอิทธิพลพระพุทธศาสนามาจากนครศรีธรรมราช จึงได้สร้างพระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหญ่เรียกว่า "พระหลักเมืองหรือพระปู่หลักเมือง" เป็นพระประธานประดิษฐานอยู่กลางถ้ำ
ถ้ำพระนี้บางทีชาวบ้านเรียกว่าถ้ำทะเลซิยะ ตามชื่อคลองทะเลซิยะที่ไหลผ่านหน้าภูเขาทางทิศใต้ โดยไหลไปรวมกับคลองรับร่อและคลองรับร่อจะไหลลงไปบรรจบกันกับคลองท่าแซะตรงบ้านปากแรกปัจจุบัน มีเรื่องเล่าว่า
เมื่อเสร็จจากการสร้างพระพุทธรูปหลักเมืองแล้ว มีทรัพย์สินเงินทองที่ชาวบ้านนำมาร่วมสร้างคงเหลืออีกมากมาย จึงนำไปฝังไว้ที่ถ้ำอีกถ้ำหนึ่งที่อยู่ใกล้เคียงกัน แล้วเขียนรูปพระพุทธไสยาสน์ลงสีไว้ที่ผนังถ้ำ ชาวบ้านเล่าลือต่อมาว่า ภาพปริศนานั้นสร้างไว้เพื่อจะได้เฝ้าสมบัติ ซึ่งเรียกกันว่า "ไอ้เต" จะลบเท่าใดก็ไม่หมด หลายต่อหลายครั้งมีผู้รู้เท่าไม่ถึงการ เอาผ้าชุบน้ำมาทดลองลบสี นอกจากนี้ยังมีคำเป็นปริศนาลายแทงว่า "ไอ้เต ไอ้เต เอาลูกใส่เปล เอาตีนคาใน น้ำมันสองขวด ค่อยนวดค่อยไป ผู้ใดคิดได้ อยู่ในไอ้เต" มีผู้เชื่อตามลายแทงมาขุดหาสมบัติในถ้ำหลายครั้ง ปรากฏว่ายังไม่มีผู้ใดได้ไป เพราะเมื่อมาขโมยขุดก็มักจะเกิดเหตุอัศจรรย์ โดยถูกงูขาวใหญ่ไล่กัดบ้าง ถูกเสียงลึกลับไล่ตะเพิดบ้าง
ด้วยเหตุที่ถ้ำรับร่อมีพระพุทธรูปหลักเมือง ทำให้นักวิชาการสันนิษฐานว่า บริเวณชุมชนโบราณแห่งนี้คงเป็นที่ตั้งของเมืองชุมพรเก่า ร่วมสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราชแห่งนครศรีธรรมราช ทั้งนี้ตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ได้กล่าวถึงพระยาศรีธรรมโศกสร้างเมือง 12 นักกษัตริย์ ปีมะแม โดยเมืองอุทุมพรถือตราแพะ เมืองชุมพรสมัยนั้นจึงน่าจะเป็นเมืองอุทุมพรที่ท่าแซะ อย่างไรก็ดี เรื่องดังกล่าวยังต้องค้นหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์และศึกษากันต่อไป
.หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดในปัจจุบันพบว่าแหล่งโบราณคดีเขารับร่อ มีมนุษย์อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้พบเครื่องมือขวานหินขัดและเศษภาชนะดินเผาในถ้ำต่างๆ ภายในภูเขารับร่อ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้มีมนุษย์อยู่อาศัยมาแล้วไม่น้อยกว่า 2,000 ปี
รูปแบบศิลปกรรม โบราณสถานเขารับร่อนี้มีถ้ำสำคัญอยู่ 3 ถ้ำคือ ถ้ำไทร ถ้ำพระและถ้ำไอ้เต ถ้ำไทรนั้นไม่มีโบราณสถานและโบราณวัตถุ มีเพียงหินงอกหินย้อยตามธรรมชาติ หลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีมีอยู่ที่ถ้ำพระและถ้ำไอ้เต ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ถ้ำพระ บริเวณหน้าถ้ำมีพระพุทธรูปปั้นทรงเครื่องปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หน้าตักประมาณ 140 - 200 ซม. จำนวน 3 องค์ คงสร้างขึ้นสมัยอยุธยาประมาณพุทธศตวรรษที่ 22-23 ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปปูนปั้น พระพุทธรูปสำริดสมัยอยุธยา พระพุทธรูปแกะสลักจากไม้จันทร์ รวมแล้วเป็นร้อยองค์ มีทั้งพระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปางมารวิชัยฝีมือช่างท้องถิ่น ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปท้องถิ่นภาคใต้และภาคกลางปะปนกัน พระประธานหรือหลวงปู่หลักเมือง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่กลางถ้ำ สูงขนาด 6 เมตร หน้าตักกว้าง 5 เมตร ลักษณะพุทธศิลป์แบบศิลปอยุธยา และพระพุทธรูปอื่นๆ ที่เป็นบริวาร เป็นพระพุทธรูปเลียแบบสุโขทัยก็มี
ถ้ำไอ้เต มีภาพเขียนสีสมัยประวัติศาสตร์ เขียนเป็นรูปพระพุทธไสยาสน์อยู่เหนือพื้นน้ำ ประมาณ 40 ซม. องค์ยาวประมาณ 4.80 เมตร กว้าง 2 เมตร พระเศียรหันสู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ พระพักตร์หันไปทางทิศตะวันออก ตัดเส้นสีแดงดำเป็นโครงร่าง รอบๆองค์ลงสีเป็นส่วนๆ พระเศียรพระเกศลงสีดำ พระพักตร์และพระกรลงสีขาว พระวากายครองผ้าสีส้มเหลือแบบเดียวกับสี ผ้าครองของพระสงฆ์ ไม่แสดงรายละเอียดของพระเนตร พระนาสิกและพระโอษฐ์ พระพักตร์ซึ่งเป็นรูปค่อนข้างเหลี่ยม มีพระอุษณีนูนสูงต่อด้วยเปลวซึ่งลงสีขาวตัดเส้นดำ ส่วนปลายพระบาทไม่ชัดเจน
สำหรับรอยพระพุทธบาทหินทราย ขนาดยาวประมาณ 1 เมตร ประดิษฐานอยู่ ณ ศาลาราษฎร์สามัคคี ซึ่งเป็นศาลาจตุรมุกบริเวณเชิงเขา ลักษณะของรอยพระพุทธบาทสลักลวดลายคล้ายสัญลักษณ์ของราชวงศ์ปทุมวงศ์ ของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชแห่งนครศรีธรรมราช มีรูปแพะซึ่งเป็นสัญลักษณ์เมืองชุมพร ซึ่งตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราชได้กล่าวถึงเมือง 12 นักกษัตริย์อันเป็นเมืองขึ้นของนครศรีธรรมราช มีเมืองชุมพร (ปีมะแม) ถือตราแพะ ลักษณะแบบศิลปกรรมน่าจะสร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนต้น หรือไม่ก็เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 19
การถือครองที่ดินหรือผู้ดูแล วัดเทพเจริญเป็นผู้ดูแล การใช้งานปัจจุบันเป็นวัดในพระพุทธศาสนา ส่วนถ้ำรับร่อเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของวัด ทางวัดได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปขึ้นไปนมัสการพระพุทธรูป ทั้งในงานเทศกาลขึ้นถ้ำรับร่อและวันธรรมดา งานที่ใหญ่ที่สุดคืองานขึ้นถ้ำรับร่อ จะตรงกับเดือน 5 แรม ค่ำถึงแรม 14 ค่ำ ของทุกปี รวมงาน 3 คืนกับ 4 วัน
สภาพปัจจุบัน ถ้ำรับร่อเดิมเป็นสถานที่ที่พระสงฆ์ปฏิบัติวิปัสสนา และได้รับการพัฒนาขึ้นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยวัดเทพเจริญเป็นผู้ดูแลรักษาและใช้ถ้ำพระเป็นพุทธสถาน ถ้ำที่สำคัญที่สุดคือถ้ำพระ อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหลักเมือง (หลวงพ่อปู่หลักเมือง) และพระพุทธรูปปางต่างๆ
เรื่องสมบัติภายในถ้ำรับร่อ เป็นอีกความเชื่อเชื่อว่า "มีอยู่จริง" แต่ไม่มีคนพบเนื่องจากอ่าน "ปริศนาลายแทง" ไม่ออก อีกทั้งยังมีอำนาจเร้นลับ คอยปกปักษ์รักษาสมบัติล้ำค่านั้นอยู่
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องตลกที่แต่งขึ้น แต่มันเป็นนิยายปรัมปรา ที่ได้กระชากวิญญาณผู้คนนักแสวงโชคไปแล้วเป็นจำนวนมาก
เรื่องราวเกี่ยวกับสมบัติล้ำค่าในสมัยโบราณ มีเรื่องเล่ากันต่อๆ มาว่า หลายจังหวัดทางภาคใต้ในสมัยก่อน มีสมบัติล้ำค่าซุกซ่อนอยู่อย่างเช่นที่จังหวัดสงขลา จังหวัดนครศรธรรมราช จังหวัดภูเก็ต และ จังหวัดชุมพร ฯลฯ
สมบัติพวกนี้บางส่วนเป็นของพวกโจรสลัด บางส่วนเป็นของพ่อค้าชาวต่างชาติ และบางส่วนเป็นของพระเจ้าแผ่นดินต่างบ้านต่างเมือง อย่างเช่นที่จังหวัดชุมพร มีเรื่องเล่ากันว่ามีถ้ำอยู่ถ้ำหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า ถ้ำรับร่อ ถ้ำดังกล่าวมีตำนานเล่าขานน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว
ภูเขารับร่อหรือภูเขาพระในวัดเทพเจริญ หมู่ที่ 4 ต.ท่าข้าม อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร สิ่งสำคัญของสถานที่แห่งนี้คือ 1.ภูเขารับร่อ 2.ถ้ำพระ 3.ถ้ำไอ้เต 4.พระพุทธรูปหลักเมือง 5.ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำไอ้เต 6.รอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งทำจากหินทรายสีแดง
เขารับร่อหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าเขาพระบ้าง ถ้ำทะเลซิยะบ้าง เป็นภูเขาหินปูนซึ่งวางตัวอยู่ในแนวเกือบจะเกือบจะตามแกนทิศเหนือ - ทิศใต้ ขนาดยาวประมาณ 4 กม.เศษๆ
กว้างประมาณ 2.25 กม. ยอดสูงสุดอยู่ทางตอนใต้ของภูเขา สูงประมาณ 281 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง โบราณสถานตั้งอยู่ในเขตวัดเทพเจริญ (วัดถ้ำรับร่อ) อยู่ทางทิศใต้ของภูเขา
ภูเขารับร่อนี้ตามตำนานและนิทานพื้นบ้านเชื่อกันว่า บริเวณรอบๆ เขารับร่อเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ ชื่อเมือง อุทุมพร ร่วมสมัยกับเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งสร้างโดยพระเจ้าศรีธรรมโศกราช เมืองอุทุมพร ใช้เป็นเมืองท่ารักษาด่านทางข้ามคอคอดคาบสมุทรมลายู มีสำเภาจีนมาค้าขาย และได้รับอิทธิพลพระพุทธศาสนามาจากนครศรีธรรมราช จึงได้สร้างพระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหญ่เรียกว่า "พระหลักเมืองหรือพระปู่หลักเมือง" เป็นพระประธานประดิษฐานอยู่กลางถ้ำ
ถ้ำพระนี้บางทีชาวบ้านเรียกว่าถ้ำทะเลซิยะ ตามชื่อคลองทะเลซิยะที่ไหลผ่านหน้าภูเขาทางทิศใต้ โดยไหลไปรวมกับคลองรับร่อและคลองรับร่อจะไหลลงไปบรรจบกันกับคลองท่าแซะตรงบ้านปากแรกปัจจุบัน มีเรื่องเล่าว่า
เมื่อเสร็จจากการสร้างพระพุทธรูปหลักเมืองแล้ว มีทรัพย์สินเงินทองที่ชาวบ้านนำมาร่วมสร้างคงเหลืออีกมากมาย จึงนำไปฝังไว้ที่ถ้ำอีกถ้ำหนึ่งที่อยู่ใกล้เคียงกัน แล้วเขียนรูปพระพุทธไสยาสน์ลงสีไว้ที่ผนังถ้ำ ชาวบ้านเล่าลือต่อมาว่า ภาพปริศนานั้นสร้างไว้เพื่อจะได้เฝ้าสมบัติ ซึ่งเรียกกันว่า "ไอ้เต" จะลบเท่าใดก็ไม่หมด หลายต่อหลายครั้งมีผู้รู้เท่าไม่ถึงการ เอาผ้าชุบน้ำมาทดลองลบสี นอกจากนี้ยังมีคำเป็นปริศนาลายแทงว่า "ไอ้เต ไอ้เต เอาลูกใส่เปล เอาตีนคาใน น้ำมันสองขวด ค่อยนวดค่อยไป ผู้ใดคิดได้ อยู่ในไอ้เต" มีผู้เชื่อตามลายแทงมาขุดหาสมบัติในถ้ำหลายครั้ง ปรากฏว่ายังไม่มีผู้ใดได้ไป เพราะเมื่อมาขโมยขุดก็มักจะเกิดเหตุอัศจรรย์ โดยถูกงูขาวใหญ่ไล่กัดบ้าง ถูกเสียงลึกลับไล่ตะเพิดบ้าง
ด้วยเหตุที่ถ้ำรับร่อมีพระพุทธรูปหลักเมือง ทำให้นักวิชาการสันนิษฐานว่า บริเวณชุมชนโบราณแห่งนี้คงเป็นที่ตั้งของเมืองชุมพรเก่า ร่วมสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราชแห่งนครศรีธรรมราช ทั้งนี้ตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ได้กล่าวถึงพระยาศรีธรรมโศกสร้างเมือง 12 นักกษัตริย์ ปีมะแม โดยเมืองอุทุมพรถือตราแพะ เมืองชุมพรสมัยนั้นจึงน่าจะเป็นเมืองอุทุมพรที่ท่าแซะ อย่างไรก็ดี เรื่องดังกล่าวยังต้องค้นหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์และศึกษากันต่อไป
.หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดในปัจจุบันพบว่าแหล่งโบราณคดีเขารับร่อ มีมนุษย์อาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้พบเครื่องมือขวานหินขัดและเศษภาชนะดินเผาในถ้ำต่างๆ ภายในภูเขารับร่อ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพื้นที่บริเวณนี้มีมนุษย์อยู่อาศัยมาแล้วไม่น้อยกว่า 2,000 ปี
รูปแบบศิลปกรรม โบราณสถานเขารับร่อนี้มีถ้ำสำคัญอยู่ 3 ถ้ำคือ ถ้ำไทร ถ้ำพระและถ้ำไอ้เต ถ้ำไทรนั้นไม่มีโบราณสถานและโบราณวัตถุ มีเพียงหินงอกหินย้อยตามธรรมชาติ หลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีมีอยู่ที่ถ้ำพระและถ้ำไอ้เต ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ถ้ำพระ บริเวณหน้าถ้ำมีพระพุทธรูปปั้นทรงเครื่องปางมารวิชัยขนาดใหญ่ หน้าตักประมาณ 140 - 200 ซม. จำนวน 3 องค์ คงสร้างขึ้นสมัยอยุธยาประมาณพุทธศตวรรษที่ 22-23 ภายในถ้ำมีพระพุทธรูปปูนปั้น พระพุทธรูปสำริดสมัยอยุธยา พระพุทธรูปแกะสลักจากไม้จันทร์ รวมแล้วเป็นร้อยองค์ มีทั้งพระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปางมารวิชัยฝีมือช่างท้องถิ่น ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปท้องถิ่นภาคใต้และภาคกลางปะปนกัน พระประธานหรือหลวงปู่หลักเมือง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่กลางถ้ำ สูงขนาด 6 เมตร หน้าตักกว้าง 5 เมตร ลักษณะพุทธศิลป์แบบศิลปอยุธยา และพระพุทธรูปอื่นๆ ที่เป็นบริวาร เป็นพระพุทธรูปเลียแบบสุโขทัยก็มี
ถ้ำไอ้เต มีภาพเขียนสีสมัยประวัติศาสตร์ เขียนเป็นรูปพระพุทธไสยาสน์อยู่เหนือพื้นน้ำ ประมาณ 40 ซม. องค์ยาวประมาณ 4.80 เมตร กว้าง 2 เมตร พระเศียรหันสู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ พระพักตร์หันไปทางทิศตะวันออก ตัดเส้นสีแดงดำเป็นโครงร่าง รอบๆองค์ลงสีเป็นส่วนๆ พระเศียรพระเกศลงสีดำ พระพักตร์และพระกรลงสีขาว พระวากายครองผ้าสีส้มเหลือแบบเดียวกับสี ผ้าครองของพระสงฆ์ ไม่แสดงรายละเอียดของพระเนตร พระนาสิกและพระโอษฐ์ พระพักตร์ซึ่งเป็นรูปค่อนข้างเหลี่ยม มีพระอุษณีนูนสูงต่อด้วยเปลวซึ่งลงสีขาวตัดเส้นดำ ส่วนปลายพระบาทไม่ชัดเจน
สำหรับรอยพระพุทธบาทหินทราย ขนาดยาวประมาณ 1 เมตร ประดิษฐานอยู่ ณ ศาลาราษฎร์สามัคคี ซึ่งเป็นศาลาจตุรมุกบริเวณเชิงเขา ลักษณะของรอยพระพุทธบาทสลักลวดลายคล้ายสัญลักษณ์ของราชวงศ์ปทุมวงศ์ ของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชแห่งนครศรีธรรมราช มีรูปแพะซึ่งเป็นสัญลักษณ์เมืองชุมพร ซึ่งตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราชได้กล่าวถึงเมือง 12 นักกษัตริย์อันเป็นเมืองขึ้นของนครศรีธรรมราช มีเมืองชุมพร (ปีมะแม) ถือตราแพะ ลักษณะแบบศิลปกรรมน่าจะสร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนต้น หรือไม่ก็เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 19
การถือครองที่ดินหรือผู้ดูแล วัดเทพเจริญเป็นผู้ดูแล การใช้งานปัจจุบันเป็นวัดในพระพุทธศาสนา ส่วนถ้ำรับร่อเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของวัด ทางวัดได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปขึ้นไปนมัสการพระพุทธรูป ทั้งในงานเทศกาลขึ้นถ้ำรับร่อและวันธรรมดา งานที่ใหญ่ที่สุดคืองานขึ้นถ้ำรับร่อ จะตรงกับเดือน 5 แรม ค่ำถึงแรม 14 ค่ำ ของทุกปี รวมงาน 3 คืนกับ 4 วัน
สภาพปัจจุบัน ถ้ำรับร่อเดิมเป็นสถานที่ที่พระสงฆ์ปฏิบัติวิปัสสนา และได้รับการพัฒนาขึ้นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยวัดเทพเจริญเป็นผู้ดูแลรักษาและใช้ถ้ำพระเป็นพุทธสถาน ถ้ำที่สำคัญที่สุดคือถ้ำพระ อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหลักเมือง (หลวงพ่อปู่หลักเมือง) และพระพุทธรูปปางต่างๆ
เรื่องสมบัติภายในถ้ำรับร่อ เป็นอีกความเชื่อเชื่อว่า "มีอยู่จริง" แต่ไม่มีคนพบเนื่องจากอ่าน "ปริศนาลายแทง" ไม่ออก อีกทั้งยังมีอำนาจเร้นลับ คอยปกปักษ์รักษาสมบัติล้ำค่านั้นอยู่
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องตลกที่แต่งขึ้น แต่มันเป็นนิยายปรัมปรา ที่ได้กระชากวิญญาณผู้คนนักแสวงโชคไปแล้วเป็นจำนวนมาก