จำได้แบบไม่เต็ม ๑๐๐% เพราะยังเด็กมาก อายุเพียง ๗ ขวบ เรียนอยู่ชั้นประถมปีที่ ๑ จะเล่าคร่าวๆ ที่ผมพอจะจำได้น่ะครับ บ้านผมเองอยู่ ตำบลหาดพันไกร อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โดนเกือบๆหาง พายุแล้ว ไม่โดนเต็มๆ เหมือน อำเภอปะทิว กับอำเภอท่าแชะ แต่ก็สาหัดสากันอยู่เหมือนกัน
วันนั้นตรงกับวันเสาร์ที่ ๔ พ.ย.๒๕๓๒ ก่อนหน้าที่พายุจะเข้าพัด ๒-๓ วัน ทางกรมอุตุก็ได้เตือน ทางวิทยุบ้าง โทรทัศน์บ้าง ว่าพายุจะเข้า แต่มีบางคนบางกลุ่มไม่เชื่อ เพราะเหตุการณ์นี้มันยังไม่เคยเกิดขึ้นกับบ้านเรา และยังไม่เคยเจอเหตุการแบบนี้ และคิดว่าคงไม่รุนแรง อย่างที่เห็นเรือประมงอัปปาง และลูกเรือลอยตายในทะเลกันเยอะมาก (หลังจากพายุพัด หมึก วาย และก็ปลาทะเล ไม่มีใครกินกัน เป็นปี)
ส่วนที่บ้านผม ช่วงกลางคืนก่อนพายุเข้าพัด พ่อก็ได้เอาเสื้อผ้า ผ้าห่ม ข้าวสาร เอกสารต่างๆ เอามาใสถังสี ปิดฝา กันน้ำเข้า ตอนนั้น ที่บ้าน เป็นบ้านปูนครึ่งไม้ครึ่ง บ้านชั้นเดียวทรงสูง เป็นร้านค้าเล็กๆ ของหมูบ้าน ขายก๋วยเตี๋ยว ขายกับข้าว มีโรงสีข้าวขนาดกลาง เลี้ยงหมู่ เลี้ยงไก่
และมีโรงขายน้ำมันแบบหลอดแก้วชนิดหมุน
และมีโรงขายน้ำมันแบบหลอดแก้วชนิดหมุน
ช่วงเวลาประมาณ ๙ โมงเช้า ก่อนหน้านั้น ที่บ้านหุ้งข้าว ทำกับเข้าเสร็จใว้เรียบร้อย ต้อนรับพายุ (สรุปก็ไม่ได้กิน) และตอนที่พายุเข้า ท้องฟ้าอึมครึม จะแจ้งก็ไม่แจ้ง จะมืด ก็ไม่มืด เงียบกริบ ลมไม่มี น่ากลัวเป็นอย่างมาก สักพัก ทั้งลมทั้งฝน เริ่มมาแรง หลังคาบ้าน เศษไม้ สิ่งของตามบ้านเรือนปลิวกระจายตามถนนลูกรังหน้าบ้าน ต้นมะพร้าว ต้นหมาก ล้มกันแบบง่ายๆ ล้มกันระนาว ถ้าใครได้อยู่ในเหตุการณ์น่ากลัวจริงๆ ทั้งเสียงลม เสียงไม้ล้ม ยาวนาน แต่แปลกฟ้าไม่ร้อง ไม่ผ่า
ช่วงประมาณ ๔ โมงเย็น ลม ฝน พายุ ก็หยุดสนิท ตอนนั้นที่บ้านได้หลบพายุ ตรงที่ร้านขายน้ำมัน ขนาด ๒.๕ เมตร × ๒ เมตร เป็นอาคารปูนเล็กๆ กระทัดรัด หลังคามุงสังกะสี อยู่กัน ๔ คน พอลมพายุสงบก็ออกมา เห็นตัวบ้าน ต้นมะพร้าวล้มทับ แต่ตัวบ้านไม่เป็นอะไรเยอะ กระเบื้องหลังคา และโครงหลังคาเสียหาย ทลายมะพร้าว ลงบนฝ้าเป็นรูใหญ่ โรงสีข้าว ตัวโรงเรือน หลังคาสักกะสี และผนังไม้ซี้ เสียหาเกือบหมด ต้นไม้ ต้นมะพร้าว ต้นหมาก ล้มเกือบหมดสวน หมูกับไก่รอด ตกเย็น น้ำป่า เริ่มมา น้ำข้ามถนน เกิดน้ำท่วม (แต่ท่วมไม่เยอะเหมือนชีตาร์) กินนอน ลำบาคมาก แก๊ชก็หมด ข้าวก็ต้องหุ้งกับไม่ฟืน ไฟก็ไม่มี ต้องตามเกียงน้ำมันกาศ บรรยากาศกลางคืนเงียบสงบ วังเวง ก่อไฟ เพื่อบรรเทาความหนาวเย็น ช่วงนั้นยุคนั้น เดือน พ.ย.อากาศเย็นมาก + กับลมว่าว (ไม่เหมือนกับอากาศของยุคนี้) เดือน พ.ย. ยังมีฝนอยูเลย
ช่วงวันแรกๆ กับข้าวก็มีกิน เพราะของสดในตู้เย็นยังมี นานๆ ไปหลายวันเริ่มร่อยหรอ ก็กินพวก หัวมะพร้าว ผักหญ้า ของในสวน ที่สามารถนำประกอบอาหารได้ อีกประมาณสัก สัปดาห์ ก็เริ่มมีของแจก จากรัฐบาล หน่วยงาน บริษัท ของบริจากจากจังหวัดต่างๆ ทยอยมาแจก ทั้งของกิน ของใช้ เสื้อผ้า อาหารแหง เครื่องดำรงชีพ (ข้อความ ผิดบ้าง ถูกบ้าง ก็ไปตามน้ำแล้วกันนะครับ)
*** ขอขอบคุณเจ้าของภาพถ่ายทุกๆ ภาพ ที่เราเอามาใช้ เผยแพร่ เพื่อรำลึกความทรงจำ ของจังหวัดชุมพรบ้านเรา
ภาพถ่ายหลัก
- Aof Civil Chumphon
- คุณสมบูรณ์ พรหมมาศ
- คุณสิริกาญจน์ ธนโชติวราธิษณ์
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น